วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 4

วันอังคารที่ 27 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555


สมาชิก 
1.นางสาวรัชฎาภรณ์ ฤาชา
2.นางสาวทิพากร พลเยี่ยม
3.นางสาวขวัญชนก เจริญผล
4.นางสาววรรณพร นิยม
5.นางสาวชนากานต์ บุญคำ

 
- ส่งงานที่นำกลับไปแก้ในสัปดาห์ที่แล้ว มีทั้งหมด 4 กลุ่ม
  •    หน่วยส้ม
  •    หน่วยไข่
  •    หน่วยมะหพร้าว
  •    หน่วยข้าวโพด
- อาจารย์แนะนำ และ บอกการแก้ไขงานเพิ่มเติม
- อาจารย์ให้ออกไปอธิบายกิจกรรม เนื้อหาและทักษะ 12 ข้อ
- อาจารย์แนะนำและบอกข้อแก้ไขเพิ่มเติม


 
- ออกครบทุกกลุ่มแล้ว อาจารย์สรุปงานของทุกกลุ่มพร้อมกับยกตัวอย่างเพื่อนำไปแก้ไขงาน
- เนื้อหาและทักษะทางคณิตศาสตร์ทั้ง 12 ข้อ สามารถนำไปบูรณาการในการเรียนการสอนได้ทั้งหมด
 
 
งานที่ได้รับมอบหมาย
- ให้เขียนการสอนของแต่ละวันในหน่วยของตัวเอง (จันทร์ - ศุกร์)
- ทำ Mindmaping หน่วยที่กลุ่มตนเองได้ทำ (งานเดี่ยว)

วันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 3

วันอังคารที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

- อาจารย์จ๋าให้ส่งงานที่ได้มอบหมายใน อังคารที่แล้ว

- แต่ละกลุ่ม ได้ทำเรื่องต่างๆ ดังนี้
  • กลุ่ม 1 เรื่องกล้วย
  • กลุ่ม 2 เรื่องส้ม
  • กลุ่ม 3 เรื่องไข่
  • กลุ่ม 4 เรื่องอะไรเป็นคณิตศาสตร์
- อาจารย์ได้ตรวจงานของแต่ละกลุ่มพร้อมอธิบายเพิ่มเติม จากงานที่ได้นำมาเสนอ

- อาจารย์ได้พูดถึง เนื้อหาทักษะทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็ก ดังนี้
  1. การนับ > เป็นคณิตศาสตร์เกี่ยวกับตัวเลข ที่เด็กต้องรู้จักเป็นอันดับแรก
  2. ตัวเลข > เด็กได้รู้จักตัวเลขที่เห็นหรือใช้อยู่ในชีวิตประจำวัน
  3. การจับคู่ > เป็นการฝึกฝนให้เด็กได้รู้จักสังเกตลักษณะ
  4. การจัดประเภท > เป็นกาฝึกฝนให้เด็กได้รู้จักสังเกตคุณสมบัติของสิ่งต่างๆ
  5. การเปรียบเทียบ > เด็กจะมีการสืบเสาะและอาศัยความสัมพันธ์ระหว่างของสองสิ่งหรือมากกว่า รู้จักให้คำศัพท์ มากกว่า  น้อยกว่า
  6. การจัดลำดับ > เป็นการวัดสิ่งของเป็นชุดๆหนึ่ง ตามคำสั่ง เช่น จัดบล็อค 5 แท่งที่มีความยาวไม่เท่ากัน
  7. รูปทรงและเนื้อที่ > เด็กจะได้เรียนรู้เรื่องรูปทรงและเนื้อที่จากการเล่น เช่น รูปทรง 4 เหลี่ยม 3 เหลี่ยม วงกลม วงรี
  8. การวัด > คือการหาค่า มักให้เด็กได้ลงมือวัดด้วยตนเองให้รู้จักความยาวและระยะ
  9. เซต > การสอนเรื่องเซตอย่าง ง่ายๆ เช่น รองเท้าคู่กับถุงเท้า จะถือว่าเป็น 1 เซต หรือ ห้องเรียนจะแบ่งเป็น 3 เซต คือ ครู ครูช่วยสอน นักเรียน (คล้ายๆการจัดประเภท)
  10. เศษส่วน > การเรียนเศษส่วนมักจะเริ่มเรียนในชั้นประถมศึกษา แต่ระดับปฐมวัยสามารถสอนได้โดยเน้นการสอนส่วนรวม ให้เด็กได้เห็นก่อน เช่น การแบ่งของให้กัน
  11. การทำตามแบบหรือลวดลาย > เป็นการทำให้เด็กได้จดจำรูปแบบลวดลายและพัฒนาการ การจำแนกด้วยสายตา
  12. การอนุรักษ์ หรือ การคงที่ด้านปริมาต > ช่วงอายุ 5 ขวบ ครูจะสอนเรื่องการอนุรักษ์ใดบ้าง โดยให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติจริง จุดมุ่งหมายการสอนนี้ คือ ให้เด็กมีความคิดรวบยอดของการอนุรักษ์ที่ว่าปริมาณของวัตถุจะยังคงที่ไม่ว่าจะย้ายหรือทำให้มีรูปร่างเปลี่ยนไปก็ตาม
    (เด็กสามารถบอกเหตุผลได้ดี)
  13.  
     
(อ้างอิง : อ.นิตยา ประพฤติกิจ)
 
 
งานที่ได้รับมอบหมาย
- ปรับปรุงหัวข้อ และนำทฤษฎีไปบูรณาการทางคณิตศาสตร์ในหน่วยที่ปรับปรุงแล้ว
 
     

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 2

วันอังคารที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
 
- คณิตศาสตร์กับภาษา คือ เครื่องมือในการเรียนรู้
- การใช้คณิตศาสตร์มาบูรณาการกับภาษา
- การสอนคณิตศาสตร์ให้เด็กๆได้เรียนรู้และจดจำได้ง่าย คือ การสอนแบบซ้ำๆ พูดซ้ำๆ เพื่อให้เด็กเกิดการซึมซับ และเก็บข้อมูล เพื่อเกิดความรู้ใหม่โดยที่นำความรู้เดิมมาใช้
- คณิตศาสตร์สำหรับเด็กสามารถนำมาใช้ในกิจวัตรประจำวัน และ การใช้เหตุผล ตามหลักการที่ได้เรียนรู้

- การบูรณาการคณิตศาสตร์ให้เข้ากับ 6 กิจกรรมหลัก ได้แก่
  • กิจกรรมกลางแจ้ง
  • กิจกรรมเสริมประสบการณ์
  • กิจกรรมเสรี (มุมประสบการณ์)
  • กิจกรรมการเคลื่อนไหว
  • กิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์
  • กิจกรรมเกมการศึกษา
- อาจารย์ให้ฟังเพลงเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กพร้อมอธิบายเพิ่มเติม
* อนุกรม >> การจัดวางของเป็นกลุ่ม
 
     
     อาจารย์จ๋าให้นักศึกษาวาดสัญลักษณ์ของตนเอง

วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

บันทึกการเรียนรู้ ครั้งที่ 1

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

- อาจารย์ให้นักศึกษาเขียนความรู้ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์ และ การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย นั้นคืออะไร ?
- อาจารย์อธิบายและบอกถึงวิธีการนำเสนอควรใช้ ความน่าสนใจ การแต่งประโยคนั้น ควรจะมี ประธาน  กิริยา  กรรม


การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
        การจัดประสบการณ์
           - การสอนโดยใช้ประสบการณ์บ่อย ๆ เพื่อให้เด็กเกิดการเรียนรู้ หลักในการสอนประสบการณ์จะเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้ต่อไป

        คณิตศาตร์ 
          - เนื้อหา สาระ
          - ประสบการณ์สำคัญ (ทักษะ)
       
        ปฐมวัย
          - พัฒนาการ คือ การเปลี่ยนแปลงตามลำดับขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง การแสดงออกในพฤติกรรม และความสามารถในการแสดงออก

# เพรียเจต์ พัฒนาการแรกเกิด - 2 ปี
   0 - 2 ปี การใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5
   2 - 4 ปี เริ่มมีภาษา การพูด การเรียก เช่น แม่ พ่อ ป้า ลุง ย่า ยาย
   4 - 6 ปี เด็กสามารถใช้เหตุผลได้ดีขึ้น (แต่ไม่ทั้งหมด)

สื่อ >> สื่อของจริง คือสื่อ 3 มิติ จับต้องได้มองเห็นได้ 360 องศา

" ความรู้ใหม่เกิดจากความรู้เดิมที่มีอยู่ "

หมายเหตุ : อาจารย์ให้นักศึกษาย้ายเวลาเรียน มาเรียน 12.00 - 15.00 น.